2644 จำนวนผู้เข้าชม |
ร้านเขียนหน้านี้ขึ้นมาจากใจ เขียนก่อนที่ธุรกิจจะเป็นรูปเป็นร่าง โปรดอย่าคัดลอกไปใส่เว็บตัวเอง เขียนใหม่เองเถอะค่ะ
- คัดเลือกสินค้าลงร้านโดยคำนึงถึง
- สินค้าทุกชิ้นมีรายละเอียดฉลากครบถ้วนตามที่ อย.กำหนด
- จำหน่ายในราคาย่อมเยา เป็นธรรม พร้อมบริการก่อนและหลังการขาย มีนโยบายการเปลี่ยนหรือคืนกรณีสินค้าชำรุด
แยกตอบเป็น 2 ประเด็นนะคะ
ประเด็นที่ 1. สินค้าของเราใช้ร่วมกับของที่อื่นได้ เพราะครีมของเราปลอดภัยทุกตัว ขอให้ครีมของที่อื่นที่ท่านใช้อยู่ เป็นครีมที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมของสารอันตราย ก็สามารถใช้ร่วมกับครีมของร้านเรา หรือแม้แต่ครีมของร้านอื่นๆได้ทั้งหมด จะรู้ได้อย่างไรว่าครีมที่ท่านใช้อยู่ปลอดภัย อันนี้เราคงตอบให้ไมได้ ผู้ใช้ควรจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ถ้าเราบอกว่าครีมเราใช้ร่วมกับที่อื่นไม่ได้ คงจะโหดร้ายเกินไป ถ้าวันใดวันหนึ่งฟาร์มาบิวตี้แคร์เกิดปิดตัวเองลงไป สงสัยสมาชิกเราคงขี้เหร่กันหมดแน่ๆค่ะ ดังนั้น ขอยืนยันคำเดิมคือ สินค้าของเราใช้ร่วมกับของที่อื่นได้ค่ะ
ประเด็นที่ 2. ต่อเนื่องมาจากประเด็นที่ 1 คือ ท่านต้องสอบถามเจ้าของครีมที่ท่านใช้อยู่ด้วยว่าจะใช้ร่วมกับของร้านอื่นได้หรือไม่ เพราะสินค้าบางร้านมีข้อห้ามว่า ห้ามใช้ปนกับของที่อื่น ถ้าเป็นเช่นนี้ สินค้าของฟาร์มาบิวตี้แคร์ คงไม่สามารถใช้ปนกับครีมเดิมของท่านได้
คำอธิบาย : ในโลกนี้ไม่มีเครื่องสำอางที่ไหนสามารถผลิตจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ ครีมทุกอย่างล้วนมีสารเคมีเป็นส่วนผสม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปครีม เซรั่ม เจล โลชั่น โทนเนอร์ ก็ต้องมี เบส และ สารช่วย และ แอคทีฟ เพื่อให้ขึ้นรูปเป็นเนื้อที่ต้องการได้ เบสและสารช่วยเหล่านั้นเป็นสารเคมี
หลายคนอ่านแล้วอาจจะงง ว่าเบสและสารช่วยมันคืออะไร ก็ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนจากเครื่องสำอางใจชีวิตประจำวัน โดยลองไปหยิบกล่องเครื่องสำอางมาสัก 1 อย่าง ขอให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้รายละเอียดตรงตาม อย.กำหนด แบรนด์ในท้องตลาดก็ได้ เช่น นีเวีย พอนดส์ โอเลย์ ฯลฯ จากนั้นให้ดูรายละเอียดในหัวข้อ ส่วนผสม หรือ ingredients จะเห็นส่วนผสมอันยาวเหยียด อ่านออกบ้างไม่ออกบ้าง ส่่วนแรกๆ จะเป็นชื่อสารต่างๆ อ่านยากอยู่เหมือนกัน เพราะเป็นชื่อโครงสร้างทางเคมี บอกหมู่ function บอกตำแหน่งคาร์บอน ห้อยระโยงระยางไปหมด ส่วนท้ายๆจะมีชื่อสารสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนผสมห้อยอยู่ประมาณ 4-5 ตัว บางยี่ห้ออาจจะมากกว่านั้น
การเรียงลำดับส่วนผสมดังกล่าว เป็นการเรียงตามความเข้มข้นหรือปริมาณที่อยู่ในครีม ชื่อสารเคมีต่างๆที่ยาวเหยียดคือเบส สารช่วย สารกันเสีย ส่วนสารสกัดธรรมชาติจะห้อยอยู่ท้ายๆ ซึ่งก็หมายความว่า ปริมาณความเข้มข้นของสารสกัดธรรมชาติที่เขาใส่ๆกันลงไป ถือได้ว่ามีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมอื่นๆที่เป็นสารเคมีในนั้น
อย่าเพิ่ง ตกใจกลัวนะคะ ที่เพิ่งจะรู้ว่าครีมๆทั้งหลายที่คุณใช้อยู่ มีส่วนผสมของสารเคมีทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นสารเคมีแต่ก็เป็นสารเคมีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในเครื่องสำอางได้
สำหรับผู้ที่กลัวที่จะใช้เวชสำอาง โปรดอ่าน...ค่ะ
คำว่า “เวชสำอาง” คนไทยแปลและเรียกกันเองในภาคธุรกิจ โดยแปลมาจากคำว่า “cosmeceutical products” ที่ต่างประเทศใช้
คำว่า “เวชสำอาง” ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทย
คำว่า “เวชสำอาง” ไม่มีใน พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ของไทย
ความแตกต่างระหว่างเครื่องสำอางและเวชสำอาง ?
“เครื่องสำอาง" หมายถึง สิ่งปรุง รวมทั้งเครื่องหอม และสารหอมต่างๆ ที่ใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ ที่มุ่งหมายสำหรับทำความสะอาด ป้องกัน แต่งเสริม เพื่อความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ โดย ถู ทา พ่น หรือโรย เป็นต้น โดยที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของร่างกาย แต่......เวชสำอาง เป็น เครื่องสำอาง ที่ใช้แล้วสามารถให้ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ , Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชบางชนิด
เมื่อผลิตภัณฑ์ทั้งสองกลุ่มไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว แต่ทางกฎหมายไม่มีประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เรียกว่า “เวชสำอาง” ดังนั้นในการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ ในทางกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องสำอาง และต้องโฆษณาให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางตามบทบัญญัติของพระราชบัญญติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กล่าวคือ ต้องไม่โฆษณาคุณสมบัติมากไปกว่าการเป็นเครื่องสำอาง ดังนั้นอย่างคำว่าใช้แล้ว ขาว ก็ใช้ไม่ได้ เป็นการโอ้อวดเกินจริง ต้องเลี่ยงไปใช้คำว่า “ทำให้ผิวแลดูกระจ่างใส” แทน เป็นต้น
จะว่าไปแล้ว สำหรับในเมืองไทยเรา มีผลิตภัณฑ์ที่ดูคล้ายเป็นเครื่องสำอาง หรือเวชสำอาง แต่จริงๆแล้วจัดเป็น ยา อยู่บ้างเหมือนกัน และบางร้านก็เอามาประกาศขายหน้าเวบ โดยที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังขาย ยา เช่น CM-lotion (โลชั่น clindamycin แต้มสิว) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย. กำกับ แต่ว่าเลขทะเบียนบนเผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จะไม่มีคำว่า อย. นำหน้าตัวเลขและไม่มีกรอบ แต่จะแสดงเฉพาะตัวเลขเท่านั้นค่ะ
อย่าเพิ่งกลัวแค่ได้ยินว่า เวชสำอาง และไม่ต้องหนีเวชสำอาง เพราะท่านไม่มีทางหนีพ้น บนตลาดเครื่องสำอางทุกวันนี้ มากกว่า 80% เป็นเวชสำอางหมดแล้ว ทั้งบนเนต คลินิกหมอ ในห้าง ในซูเปอร์มาเกต ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ใครก็ใช้กัน ที่สำคัญ คือ ต้องใช้ให้เป็น หมายความว่า ควรใช้ในการรักษาหรือฟื้นฟูผิว เมื่อผิวกลับมาเป็นปกติหรือดีขึ้นแล้ว ควรพักผิวและกลับมาใช้สกินแคร์ปกติทั่วไปค่ะ บางคนสั่ง 10 อย่าง ทาพร้อมกัน ต่อให้หน้าทนแค่ไหนก็รับไม่ไหว มากไป
ลูกค้าบางท่านอาจจะเคยซื้อสินค้าจากบางร้าน ที่เคลมว่าผลิตภัณฑ์ในร้านขายครีมสมุนไพร 100% ไม่ใช่เวชสำอาง ปลอดภัยแน่นอน คงต้องทำความเข้าใจใหม่ อย่าเชื่อทุกอย่างที่มีคนมาบอก ขอให้ศึกษาอ่านเองเพิ่มเติมบ้าง จะได้ไม่ถูกหลอกค่ะ
ลองดูใหม่ว่า ในร้านครีมสมุนไพรที่ท่านเคยสั่งครีมมาใช้ มีสินค้าสักตัวมั้ย ที่มีส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants , Hydroxy acids (เช่น AHA หรือ BHA) ซึ่งคิดว่าทุกร้านจะต้องผสมอย่างแน่นอน , Growth Factors, Hormones, Peptides , Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชบางชนิด ถ้ามีก็จัดเป็น เวชสำอาง แล้ว
สำหรับคนที่ใช้ยาหมอมาตลอด อ่านทางนี้ คำว่า “ยาหมอ” มักถูกใช้เรียกครีมทุกอย่างที่ได้จากคลินิกหมอ ประหนึ่งว่าครีมหมอทุกอย่างมีส่วนผสมของ “ยา” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ครีมจากหมออาจไม่ได้ผสมยา เป็นแค่เครื่องสำอางทั่วไปเหมือนที่ขายบนเน็ตหรือขายตามห้าง เคาน์เตอร์ทั่วไป เช่น ครีมทาฝ้า ยกเว้นหมอสั่งให้ผสมกรดวิตามินเอ ไฮโดรควิโนน สเตียรอยด์ ลงไปในสูตร ซึ่งไม่ค่อยทำกันแล้ว จะมีบ้างในบางเคสที่เป็นหนักจริงๆแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหมออย่างใกล้ชิด
อีก 1 เรื่องที่ควรเข้าใจและมีการเข้าใจผิดกันเยอะมาก ว่า “ ครีมที่สกัดมาจากธรรมชาติ ใช้ร่วมกับยาหมอไม่ได้ “ ..... ไม่เป็นความจริงค่ะ
อย่างที่บอกไป ครีมจากหมอไม่ได้ผสมยาเสมอไป อย่างไรก็ตามด้วยเหตุผลด้านการตลาดของคลินิกผิวหนัง ที่เดิมทีมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาโรคผิวหนังเป็นหลัก (ใช้ครีมผสมยาในการรักษา) เปลี่ยนมาเป็นการบำรุงดูแลผิวพรรณแทน ในคลินิกจึงมีทั้งครีมที่เป็นยา และไม่ใช่ยา (เครื่องสำอาง) ในบางรายที่เป็นเคสหนัก หมอาจจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาให้กับคนไข้ เช่น สเตียรอยด์ / ซีลีเนียม ซัลไฟด์ครีม (โคลนพอกสิวก่อนล้างหน้า)/ กรดวิตามินเอ และไฮโดรควิโนน นี่ต่างหาก “ ยาหมอ “ ที่แท้จริง
จริงค่ะที่คนใช้ “ยาหมอ” (หมายถึงครีมที่ผสมยาจริงๆ) มักจะใช้ร่วมกับสกินแคร์ข้างนอกไม่ได้ รวมถึงของเราด้วย ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น โครงสร้างผิวถูกรบกวนด้วยตัวยามานาน จึงเกิดการตอบสนองต่อครีมข้างนอกไม่เหมือนคนอื่น หรือผิวบางมากจนใช้อะไรก็ระคายเคืองไปหมด ต้องใช้ของหมอเท่านั้น หรือที่เรียกว่า ติดยาหมอ
ทางร้านไม่รับบำบัดอาการติด ยาหมอ ทางออกของการเลิกยาหมอ ก็ควรคุยกับหมอจะดีที่สุด เพราะการหยุดยาเองจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ คุณหมอจะมีวิธีถอนยาทีละนิดให้เอง ในระหว่างการถอนยา งดใช้เวชสำอางทุกชนิดเพื่อเป็นการพักผิว เน้นใช้พวกบำรุงเช่น มอยส์เจอร์ และทากันแดด พูดง่ายๆ คือ สูงสุดคืนสู่สามัญ
การแพ้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าส่วนผสมที่ใช้ในเครื่องสำอางมาจากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ การแพ้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันส่วนบุคคล เราจะไม่มีทางทราบได้ว่าเราจะแพ้อะไร ไม่แพ้อะไร จนกว่าเราจะได้ลองใช้ ในการใช้ครั้งแรกจะไม่แสดงอาการแพ้ เพราะภูมิคุ้มกันอาจยังไม่ถูกกระตุ้น เมื่อมีการใช้ซ้ำจึงจะแสดงอาการให้เห็น ซึ่งอาจจะเป็นครั้งที่ 2,3 และห่างจากการใช้ครั้งแรกเป็นวัน เดือน ปี ก็ได้ค่ะ ไม่มีอะไรบอกได้ตายตัว บางคนใช้วันที่ 1-5 ไม่เป็นไร พอวันที่ 6 เริ่มแพ้ บางคนใช้วันนี้ไม่เป็นไร พรุ่งนี้จึงเริ่มแพ้ ระยะเวลาการเริ่มแสดงอาการแพ้ที่ต่างกันนี้เป็นเพราะระยะเวลาที่ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นในแต่ละคนใช้เวลาต่างกัน
อาการแพ้ ที่สังเกตเห็นได้ชัดที่สุดคือ ผื่นแดง คัน บางคนอาจพัฒนาเป็นสิวและลุกลาม ควรแยกการแพ้และการระคายเคืองให้ออก แม้จะเป็นอะไรที่แยกยาก เพราะอาการใกล้เคียงกันมาก แต่ก็อยากให้พยายามแยกให้ได้ โดยหาเหตุผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้กับอาการที่เกิดขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองได้ถูกและไม่เป็นการปิดโอกาสตัวเองที่จะได้ใช้สกินแคร์ ตัวอื่น เคยเจอหลายคน บอกว่าตัวเองแพ้วิตามินซี อะไรที่ผสมวิตามินซี ใช้ไม่ได้เลย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว แพ้ส่วนผสมอื่นบางอย่างที่อยู่ในสูตร
วิธีการสังเกตว่าตัวเอง "แพ้หรือระคายเคือง"
หลายร้าน อ้างว่าสินค้ามาจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน ทำให้ลูกค้าสับสนและเข้าใจผิด และยังอ้างต่อว่า ใช้แล้วจะไม่แพ้ เพราะมาจากธรรมชาติ อีกทั้งแสดงรายละเอียดส่วนผสมที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติเท่านั้น บางร้านอาจจะกำหนดความโดดเด่นของสินค้าไว้อีกอย่าง แต่ส่วนผสมข้างในเป็นอีกอย่าง เช่นเคลมว่าทำให้ผิวแข็งแรง เพราะมีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติ แต่ข้างในมีส่วนผสมของสารผลัดเซลล์ความเข้มข้นสูง
นัก ท่องเว็บบิวตี้ยุคนี้ นอกจากจะต้องระวังความเสี่ยงจากร้านที่ขายครีมที่มีส่วนผสมที่ไม่ปลอดภัย แล้ว ยังต้องเพิ่มความระมัดระวังร้านที่มีส่วนผสมปลอดภัย แต่ให้ข้อมูลที่ปกปิด บางอย่างปลอดภัยก็จริงแต่ใช้ซ้ำซ้อนกันมากๆก็ไม่ปลอดภัย เช่น AHA, vitamin c
สินค้าของร้านเราไม่ใช่ยาและไม่มีส่วนผสมของสารต้องห้ามตามประกาศกระทวงสาธารณสุข แต่เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว ที่เน้นการให้ความชุ่มชื้นกับผิว ปรับการทำงานของผิวให้เป็นไปอย่างปกติ เพื่อสุขภาพผิวที่ดี ผิวสวย ใส สมบูรณ์แข็งแรงจากภายใน ไม่ใช่การดูแลผิวแบบเร่งด่วน หลักสูตรเร่งรัด อาจจะมีบางตัวที่ใช้สำหรับฟื้นฟูผิวคล้ำเสีย ผิวขาดการบำรุงมานาน ก็จะให้ใช้เพื่อกระตุ้นผิวหลังจากนั้นก็จะแนะนำให้เน้นการบำรุงผิวตามปกติ เสริมด้วยการฟื้นฟูหรือกระตุ้นผิวสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ผิวจะได้สดชื่นและพร้อมรับการบำรุงอย่างสม่ำเสมอ
ผลิตภัณฑ์ฟาร์ริส ผ่านการจดแจ้งสูตรจาก อย. ทุกรายการ สามารถดูเลขที่ใบรับแจ้งที่หน้าสินค้าแต่ละตัวได้เลยค่ะ
เราอยากให้ท่านรู้ : เลขที่ใบรับแจ้ง คืออะไร / คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลขที่ใบรับแจ้ง/ อย่าเพิ่งเชื่อเพียงแค่เห็นว่าสินค้ามีเลขที่ใบรับแจ้ง รู้ให้ลึกให้จริงกว่านั้น
1. เลขที่ใบรับแจ้งคืออะไร ?
2. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลขที่ใบรับแจ้ง
3. วิธีเช็คเลขที่ใบรับแจ้ง ว่าจริงหรือสวมของคนอื่น